กิจกรรม 17-21 ม.ค. 2554



 ตอบ2
เพราะ คือ อัตราซึ่งสารตั้งต้น (reactant) ทำปฏิกิริยาไป หรืออัตราซึ่งสารผลิตภัณฑ์ (product) เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาต่อหน่วยเวลา (t)  นิยมระบุเป็นความเข้มข้นของสารใดสารหนึ่งในปฏิกิริยาที่เปลี่ยนไปต่อหน่วยเวลา (t)
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เป็นการวัดจากปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลง หรือปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ในการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งในการเกิดปฏิกิริยาแต่ละปฏิกิริยาจะไม่เท่ากัน ปฏิกิริยาบางชนิดเกิดเร็ว เช่น การเผากระดาษ การระเบิดของดินปืน  ปฏิกิริยาบางชนิดเกิดอย่างช้าๆ เช่น การบูดของอาหาร ใช้เวลาเป็นวัน บางปฏิกิริยาเกิดช้ามาก เช่น การเกิดสนิมเหล็ก

ตอบ 4
เพราะ ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ


ตอบ 4
เพราะ  . กรด(acid) คือสารประกอบที่มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ  เมื่อละลายน้ำแล้วสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออ น (H+) เกิดขึ้น  ในสารละลายกรดทุกชนิดจะมีรสเปรี้ยว เช่น น้ำสมสายชูมีกรดแอซีติกเป็นองค์ประกอบ    น้ำมะนาวมีกรดซิตริกเป็นองค์ประกอบ  กรดมดแดงมีกรดฟอร์มิกเป็นองค์ประกอบ เป็นต้น     กรดที่มีอยู่ในผลไม้ต่างๆเป็นกรดอ่อน ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของคนเรามากนักและเมื่อนำมาทดสอบกับน้ำยาเจนเชียลไวโอเลต(ยาสีม่วง  )จะไม่เปลี่ยนสี  แต่ถ้าเป็นกรดที่ได้จากแร่ธาตุที่คนเราสังเคราะห์ขึ้นจะมีความเข้มข้นสูง  เช่นกรดไฮโดรคลอริก(กรดเกลือ)  กรดไนตริก(กรดดินประสิว) กรดซัลฟิวริก(กรดกำมะถัน) จะมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง  สามารถทำลายวัตถุ เสื้อผ้าผิวหนังและเนื้อเยื่อต่างของร่างกายได้  เมื่อนำมาทดสอบกับน้ำยาเจนเชียลไวโอเลตจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงิน ดังนั้นภาชนะที่บรรจุกรดจึงนิยมภาชนะที่ทำด้วยแก้ว เช่นขวดแก้ว   ซึ่งจะต้องติดป้ายแสดงให้ชัดเจนว่า  เป็นสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน  อีกทั้งการนำสารที่เป็นกรดมาใช้ต้องระมัดระวังและใช้อย่างถูกวิธีจะทำให้การใช้สารเคมีที่ปลอดภัยด้วย


ตอบ 1
เพราะ การที่เราจำแนกธาตุทั้งหลายออกเป็นโลหะกับอโลหะนั้น ก็เนื่องจากธาตุต่างๆ มีสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกัน  แต่ก็มีสมบัติบางประการเหมือนกันหรือคล้ายกัน ซึ่งพอจะแยกออกเป็นสามพวกได้ดังนี้
          1. โลหะ (metal) เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ นำความร้อนที่ดี เหนียว มีจุดเดือดสูง ปกติเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง (ยกเว้น ปรอท) เช่น แคลเซียม อะลูมิเนียม เหล็ก เป็นต้น
          2. อโลหะ (non-metal) เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติไม่นำไฟฟ้า มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เปราะบาง และมีการแปรผันทางด้านคุณสมบัติทางกายภาพมากกว่าโลหะ เช่น ออกซิเจน กำมะถัน ฟอสฟอรัส เป็นต้น
           3. กึ่งโลหะ (metalloid) เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะและอโลหะ เช่น ธาตุซิลิคอน และเจอเมเนียม มีสมบัติบางประการคล้ายโลหะ เช่น นำไฟฟ้าได้บ้างที่อุณหภูมิปกติ และนำไฟฟ้าได้มากขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น เป็นของแข็ง  เป็นมันวาวสีเงิน จุดเดือดสูง แต่เปราะแตกง่ายคล้ายอโลหะ
36.   ข้อใดเป็นการจัดตัวของอิเล็กตรอนในอะตอมที่มีเลขมวลเท่ากับ 40 และมีนิวตรอนเท่ากับ  21
1. 2,8,9                  2. 2,8,8,1
3 .2,8,18,8,4          4. 2,8,9,2

ตอบ 2
เพราะ
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

ตอบ 3
เพราะ ตารางธาตุ หมายถึง ตารางที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นมา เพื่อแบ่งธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายแก่การศึกษา โดยแบ่งธาตุทั้งหมดออกเป็นหมู่และคาบ
ธาตุที่อยู่ในแนวดิ่งเดียวกัน เรียกว่า อยู่ในหมู่เดียวกัน
ธาตุที่อยู่ในแนวนอนเดียวกัน เรียกว่า อยู่ในคาบเดียวกัน
ในระหว่างปี พ.ศ. 2346 ถึง 2456 มีธาตุต่าง ๆที่พบในธรรมชาติประมาณ 63 ธาตุ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามจัดธาตุเหล่านี้ให้เป็นหมวดหมู่หรือเป็นตารางธาตุโดยในช่วงแรก ๆ นั้นแบ่งธาตุออกเป็นหมวดหมู่โดยอาศัยสมบัติของธาตุ ทั้งนี้ได้จากการสังเกตพบความคล้ายคลึงกันของสมบัติของธาตุเป็นกลุ่ม ๆ ทำให้นำมาจัดเป็นตารางธาตุได้ เช่นแบ่งกลุ่มโดยอาศัยสมบัติเกี่ยวกับโลหะ-อโลหะ โดยอาศัยสมบัติของความเป็นกรด-เบสของธาตุ เป็นต้น ต่อมาเมื่อหามวลอะตอมของธาตุได้ จึงใช้มวลอะตอมมาประกอบในการจัดตารางธาตุ จนในปัจจุบันจัดตารางธาตุโดยอาศัยการจัดเรียงอิเล็กตรอน

1. อิเล็กตรอนที่วิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสนั้น จะอยู่กันเป็นชั้นๆตามระดับพลังงาน ระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด (ชั้น K)จะมีพลังงานต่ำที่สุด และอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นถัดออกมาจะมีพลังงานสูงขี้นๆตามลำดับพลังงานของอิเล็กตรอนของระดับชั้นพลังงาน K < L < M < N < O < P < Q หรือชั้นที่ 1< 2 < 3 <4 < 5 < 6 < 7
2. ในแต่ละชั้นของระดับพลังงาน จะมีจำนวนอิเล็กตรอนได้ ไม่เกิน 2n2 เมื่อ n = เลขชั้น    เลขชั้นของชั้น K=1,L=2,M=3,N=4,O=5,P=6 และ Q=7
ตัวอย่าง    จำนวน e- ในระดับพลังงานชั้น K มีได้ ไม่เกิน 2n2 = 2 x 12 = 2x1 = 2
              จำนวน e-ในระดับพลังงานชั้น N มีได้ ไม่เกิน 2n2
= 2 x 42 = 2x16 = 32
3. ในแต่ละระดับชั้นพลังงาน จะมีระดับพลังงานชั้นย่อยได้ ไม่เกิน 4 ชั้นย่อย และมีชื่อเรียกชั้นย่อย ดังนี้ s , p , d , f
ในแต่ละชั้นย่อย จะมีจำนวน e-ได้ ไม่เกิน ดังนี้
ระดับพลังงานชั้นย่อย s มี e- ได้ ไม่เกิน 2 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย p มี e- ได้ ไม่เกิน 6 ตัวระดับพลังงานชั้นย่อย d มี e-ได้ ไม่เกิน 10 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย f มี e-ได้ ไม่เกิน 14 ตัว
เขียนเป็น s2 p6 d10 f14

 ตอบ...3
โมเลกุล
โมเลกุล (molecule) คือ อนุภาคที่เล็กที่สุดของสาร ซึ่งสามารถอยู่ได้อย่างอิสระในธรรมชาติ และสามารถแสดงสมบัติเฉพาะตัวของสารนั้นได้ โมเลกุลเกิดจากอะตอมตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไปมารวมกันในทางเคมี เมื่อพิจารณาถึงชนิดของอะตอมที่มารวมกันสามารถจำแนกโมเลกุลได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. โมเลกุลของธาตุ ประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกันมารวมกัน ตัวอย่างเช่น
- แก๊สไนโตรเจน (N2) ประกอบด้วยไนโตรเจน 2 อะตอม
- แก๊สไฮโดรเจน (H2) ประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม
- แก๊สออกซิเจน (O2) ประกอบด้วยออกซิเจน 2 อะตอม
- กำมะถัน (S8) ประกอบด้วยซัลเฟอร์ 8 อะตอม
2. โมเลกุลของสารประกอบ ประกอบด้วยอะตอมต่างชนิดกันมารวมกัน ตัวอย่างเช่น
- น้ำ (H2O) ประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม
- แอมโมเนีย (NH3) ประกอบด้วยไนโตรเจน 1 อะตอม และไฮโดรเจน 3 อะตอม
- กรดคาร์บอนิก (H2CO3) ประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม คาร์บอน 1 อะตอม และออกซิเจน 3 อะตอม
- แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (NH4OH) ประกอบด้วยไนโตรเจน 1 อะตอม ไฮโดรเจน 5 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม


ตอบ...2
  • หมู่ 1A ลิเทียม (Lithium) โซเดียม (Sodium - Natrium) โพแทสเซียม (Potassium - Kalium) รูบิเดียม (Rubidium) ซีเซียม (Cesium) แฟรนเซียม (Francium)
  • หมู่ 2A เบริลเลียม (Beryllium) แมกนีเซียม (Magnesium) แคลเซียม (Calcium) สตรอนเทียม (Strontium) แบเรียม (Barium) เรเดียม (Radium)
  • หมู่ 3A โบรอน (Boron) อะลูมิเนียม (Aluminum) แกลเลียม (Gallium) อินเดียม (Indium) แทลเลียม (Thallium)
  • หมู่ 4A คาร์บอน (Carbon) ซิลิกอน (Silicon) เจอร์เมเนียม (Germanium) ดีบุก (Tin - Stannum) ตะกั่ว (Lead - Plumbum)
  • หมู่ 5A ไนโตรเจน (Nitrogen) ฟอสฟอรัส (Phosphorous) อะซินิค (สารหนู) (Arsenic) พลวง (Antimony - Stibium) บิสมัท (Bismuth)
  • หมู่ 6A ออกซิเจน (Oxygen) ซัลเฟอร์ (กำมะถัน) (Sulfur) ซีลีเนียม (Selenium) เทลลูเรียม (Tellurium) โพโลเนียม (Polonium)
  • หมู่ 7A ฟลูออรีน (Fluorine) คลอรีน (Chlorine) โบรมีน (Bromine) ไอโอดีน (Iodine) แอสทาทีน (Astatine)
  • หมู่ 8A ฮีเลียม (Helium) นีออน (Neon) อาร์กอน (Argon) คริปตอน (Krypton) ซีนอน (Xenon) เรดอน (Radon)
ยกเว้น ไฮโดรเจน เพราะยังถกเถียงกันอยู่ว่าจะจัดลงไปที่หมู่ 1 หรือ 7 ดี เพราะคุณสมบัติเป็นกึ่ง ๆ กัน ระหว่าง 1A กับ 7A และธาตุประเภททรานซิชัน โดยทั่วไป ไม่แนะนำให้จำ แต่อาศัยดูตารางเอา และควรจำคุณสมบัติของธาตุที่สำคัญ ๆ ให้ได้ หรืออาจจะใช้หลักการในการท่องให้ง่ายขึ้น เช่นการใช้ตัวย่อของแต่ละคำมารวมกันเป็นประโยคที่จำง่าย ๆ ซึ่งจะทำให้จำได้ไวขึ้น
http://www.blogger.com/page-edit.g?blogID=2563847772041991939

ตอบ...3
ครึ่งชีวิต (Half life) หมายถึง ระยะเวลาที่ปริมาณของสารกัมมันตรังสีสลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณเริ่มต้น เช่น S-35 มีครึ่งชีวิต 87 วัน ถ้ามี S-35 อยู่ 8 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 87 วัน จะเหลืออยู่ 4 กรัม และเมื่อเวลาผ่านไปอีก 87 วัน จะเหลือ 2 กรัม ถ้าเริ่มต้นจาก 1 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 87 วัน จะเหลืออยู่ 0.5 กรัม และเมื่อผ่านไป 87 วัน จะเหลืออยู่ 0.25 กรัม C-14 มีครึ่งชีวิต 5730 ปี ถ้ามี C-14 อยู่ 5 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 5730 ปี จะเหลืออยู่ 2.5 กรัม และเมื่อผ่านไปอีก 5730 ปี จะเหลือ 1.25 กรัม เป็นต้น
ครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทป และสามารถใช้เปรียบเทียบอัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดได้ ดัวอย่างครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสีบางชนิด

17-21 มกราคม 2554

ตอบ...2 หินงอกหินย้อย+เผากระดาษ
หินงอก - หินย้อย หินงอกคือหินที่งอกจากพื้น

หินย้อย คือหินที่ย้อยลงมาจากด้านบน
เกิดมากโดยเฉพาะภูเขาหินปูน(CO2 ) ซึ่งละลายในน้ำฝนกลายเป็นกรดคาร์บอนิก(H2CO3)
ไหลไปตามก้อนหินและทำปฏิกิริยากับแคลเซียมตาร์บอเนตที่มีอยู่ในหินปูน เกิดเป็นสารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ซี่งไหลไปตามพื้นถนังถ้ำ เมื่อน้ำระเหยหมดก็เหลือตะกอน
สะสมเป็นหินงอกหินย้อย จัดเป็นการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก แบบช้าๆ
http://variety.teenee.com/science/1718.html


 ตอบ...4
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน

 ตอบ...4
ก๊าซไนตริกออกไซด์ (NO)    เป็นก๊าซเฉื่อยมีคุณสมบัติเป็นยาสลบ เป็นก๊าซ
ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น  ในธรรมชาติทั่วไปพบในปริมาณน้อยกว่า 0.5 ppm.ละลายน้ำได้เล็กน้อย ส่วนไนโตรเจนไดออกไซด์ ( NO2) เป็นก๊าซสีน้ำตาล ถ้ามีจำนวนมากจะมองเห็น  ก๊าซทั้งสองชนิดจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติิได้แก่ ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ภูเขาไฟระเบิด หรืออาจเกิดจากกลไกของจุลินทรีย์ และนอกจากนี้อาจเกิดจากมนุษย์เช่น จากอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมผลิตกรดไนตริก และกรดกำมะถัน และโรงงานผลิตวัตถุระเบิด และการเผาไหม้เของเครื่องยนต์ เป็นต้น           
           ก๊าซไนตริกออกไซด์ทำปฏิกิริยากับโอโซนในบรรยากาศจะเกิดเป็นไนโตเจนไดออกไซด์และออกซิเจนในทางตรงกันข้าม เมื่อมีแสงแดดจะทำให้ไนโตรเจนออกไซด์เกิดปฏิกิริยาผันกลับ

ซัลเฟอร์ออกไซด์   (SOx)  ออกไซด์ซัลเฟอร์ประกอบด้วย  SO2  และ  SO3 โดยทั่วไปมักเขียนแทน
ซัลเฟอร์ออกไซด์ ด้วย SOxเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่ติดไฟ  มีกลิ่นแสบจมูก  ละลายได้ดีในน้ำโดยจะเปลี่ยนเป็นกรดซัลฟูริก  ในธรรมชาติทั่วไปจะมีปริมาณน้อยในบรรยากาศคือ 0.02 - 0.1 ppm. แต่ถ้าพบในปริมาณสูงแล้ว ส่วนมากจะเกิดจากการเผาไหม้  โดยใช้เชื้อเพลิงหรือวัสดุที่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบปฏิกิริยาการเกิดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ถ้า SO2ทำปฏิกริยากับ O2ในอากาศจะได้ SO3 ยิ่งถ้าในบรรยากาศมีตัวเร่งปฏิกิริยาเช่น มังกานีส เหล็กหรือกลุ่ม metallic oxide จะทำ ให้ปฏิกริยาเร็วขึ้น ถ้าในบรรยากาศ   มีละอองน้ำหรือความชื้นสูง SO2จะเกิดการรวมตัวเป็นฝนกรด  (acid rain) ซึ่งจะส่งผลกระทบ
ต่อระบบนิเวศ ป่าไม้ แหล่งน้ำ สิ่งมีชีวิตและมีฤทธิ์กัดกร่อนอาคาร

http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/ecology(3)/chapter2/chapter2_airpolution5.htm

 ตอบ...1
ไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี
http://www.blogger.com/page-edit.g?blogID=2563847772041991939

 ตอบ...2
วิธีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม


 ตอบ...3
วาเลนซ์อิเล็กตรอน (อังกฤษ:valance electrons) ในทาง วิชาเคมี คือ อิเล็กตรอน ที่อยู่ในวงโคจรของ อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดของอะตอม อิเล็กตรอน เหล่านี้จะมีส่วนร่วมใน ปฏิกิริยาเคมี ด้วย ธาตุที่มีอิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเต็มมักจะไม่ไวต่อปฏิกิริยา ส่วนธาตุที่มี อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเกือบเต็มหรือเกือบว่างเช่นโลหะอะคาไล และ ฮาโลเจน จะมีความไวต่อปฏิกิริยา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99

 ตอบ...3
โมเลกุล
โมเลกุล (molecule) คือ อนุภาคที่เล็กที่สุดของสาร ซึ่งสามารถอยู่ได้อย่างอิสระในธรรมชาติ และสามารถแสดงสมบัติเฉพาะตัวของสารนั้นได้ โมเลกุลเกิดจากอะตอมตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไปมารวมกันในทางเคมี เมื่อพิจารณาถึงชนิดของอะตอมที่มารวมกันสามารถจำแนกโมเลกุลได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. โมเลกุลของธาตุ ประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกันมารวมกัน ตัวอย่างเช่น
- แก๊สไนโตรเจน (N2) ประกอบด้วยไนโตรเจน 2 อะตอม
- แก๊สไฮโดรเจน (H2) ประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม
- แก๊สออกซิเจน (O2) ประกอบด้วยออกซิเจน 2 อะตอม
- กำมะถัน (S8) ประกอบด้วยซัลเฟอร์ 8 อะตอม
2. โมเลกุลของสารประกอบ ประกอบด้วยอะตอมต่างชนิดกันมารวมกัน ตัวอย่างเช่น
- น้ำ (H2O) ประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม
- แอมโมเนีย (NH3) ประกอบด้วยไนโตรเจน 1 อะตอม และไฮโดรเจน 3 อะตอม
- กรดคาร์บอนิก (H2CO3) ประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม คาร์บอน 1 อะตอม และออกซิเจน 3 อะตอม
- แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (NH4OH) ประกอบด้วยไนโตรเจน 1 อะตอม ไฮโดรเจน 5 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/11.htm

 ตอบ...2
  • หมู่ 1A ลิเทียม (Lithium) โซเดียม (Sodium - Natrium) โพแทสเซียม (Potassium - Kalium) รูบิเดียม (Rubidium) ซีเซียม (Cesium) แฟรนเซียม (Francium)
  • หมู่ 2A เบริลเลียม (Beryllium) แมกนีเซียม (Magnesium) แคลเซียม (Calcium) สตรอนเทียม (Strontium) แบเรียม (Barium) เรเดียม (Radium)
  • หมู่ 3A โบรอน (Boron) อะลูมิเนียม (Aluminum) แกลเลียม (Gallium) อินเดียม (Indium) แทลเลียม (Thallium)
  • หมู่ 4A คาร์บอน (Carbon) ซิลิกอน (Silicon) เจอร์เมเนียม (Germanium) ดีบุก (Tin - Stannum) ตะกั่ว (Lead - Plumbum)
  • หมู่ 5A ไนโตรเจน (Nitrogen) ฟอสฟอรัส (Phosphorous) อะซินิค (สารหนู) (Arsenic) พลวง (Antimony - Stibium) บิสมัท (Bismuth)
  • หมู่ 6A ออกซิเจน (Oxygen) ซัลเฟอร์ (กำมะถัน) (Sulfur) ซีลีเนียม (Selenium) เทลลูเรียม (Tellurium) โพโลเนียม (Polonium)
  • หมู่ 7A ฟลูออรีน (Fluorine) คลอรีน (Chlorine) โบรมีน (Bromine) ไอโอดีน (Iodine) แอสทาทีน (Astatine)
  • หมู่ 8A ฮีเลียม (Helium) นีออน (Neon) อาร์กอน (Argon) คริปตอน (Krypton) ซีนอน (Xenon) เรดอน (Radon)
ยกเว้น ไฮโดรเจน เพราะยังถกเถียงกันอยู่ว่าจะจัดลงไปที่หมู่ 1 หรือ 7 ดี เพราะคุณสมบัติเป็นกึ่ง ๆ กัน ระหว่าง 1A กับ 7A และธาตุประเภททรานซิชัน โดยทั่วไป ไม่แนะนำให้จำ แต่อาศัยดูตารางเอา และควรจำคุณสมบัติของธาตุที่สำคัญ ๆ ให้ได้ หรืออาจจะใช้หลักการในการท่องให้ง่ายขึ้น เช่นการใช้ตัวย่อของแต่ละคำมารวมกันเป็นประโยคที่จำง่าย ๆ ซึ่งจะทำให้จำได้ไวขึ้น
http://www.blogger.com/page-edit.g?blogID=2563847772041991939

ตอบ...3
ครึ่งชีวิต (Half life) หมายถึง ระยะเวลาที่ปริมาณของสารกัมมันตรังสีสลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณเริ่มต้น เช่น S-35 มีครึ่งชีวิต 87 วัน ถ้ามี S-35 อยู่ 8 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 87 วัน จะเหลืออยู่ 4 กรัม และเมื่อเวลาผ่านไปอีก 87 วัน จะเหลือ 2 กรัม ถ้าเริ่มต้นจาก 1 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 87 วัน จะเหลืออยู่ 0.5 กรัม และเมื่อผ่านไป 87 วัน จะเหลืออยู่ 0.25 กรัม C-14 มีครึ่งชีวิต 5730 ปี ถ้ามี C-14 อยู่ 5 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 5730 ปี จะเหลืออยู่ 2.5 กรัม และเมื่อผ่านไปอีก 5730 ปี จะเหลือ 1.25 กรัม เป็นต้น
ครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทป และสามารถใช้เปรียบเทียบอัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดได้ ดัวอย่างครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสีบางชนิด
http://203.114.105.84/virtual/Virtual%20IE/science/kumman/61.19.145.7/student/science401/chem/chem11/main4.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น